พบแนวปะการังใหม่ที่เกาะไหง

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทะเลไทย เมื่อ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ว่าค้นพบปะการังใหม่ที่เกาะไหง รวมพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
ปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นปะการังกิ่งสั้น เป็นหย่อมขนาดใหญ่ มากกว่า 10 หย่อม แบ่งได้เป็น 3 โซน A/B/C (ดังภาพประกอบ) ทีมสำรวจจึงวางจุดพิกัด และวัดขนาดพื้นที่ปะการัง รวมทั้งสำรวจตอนน้ำขึ้น เพื่อเช็คดูสัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัย ซึ่งเท่าที่สำรวจเบื้องต้นมีมากกว่า 20 ชนิดแล้ว ซึ่งนอกจากเกาะไหงแล้ว ทีมสำรวจยังพบเพิ่มเติมที่เกาะปอ (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา) และเกาะกระดาน (อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม) อีกด้วย
ทีมสำรวจ "โครงการชีวิตปากคลองไทย" นำโดยอ.ธรณ์ ได้ร่วมกับคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ สิงห์เอสเตท และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา และความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งจากปตท.สผ. กรมอุทยานฯ และกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ในการพัฒนาการสำรวจแนวปะการังในเขตอุทยานหลายพื้นที่
ในขณะที่ปะการังหลายพื้นที่ทั่วโลกประสบปัญหา รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกิจกรรมมนุษย์ ปะการังบางจุดในประเทศไทยก็ยังมีการฟื้นตัวได้ดี ได้รับการฟื้นฟูตามธรรมชาติ ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ปะการังได้รับการฟื้นฟู อาจเพราะเดิมทีอาจได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว เมื่อคนหายไปในช่วงกักตัว ไม่มีเรือวิ่งผ่านไปมา ตะกอนทรายลดลง
ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยลงจนมีโอกาสเติบโตนั่นเอง
การช่วยฟื้นฟูปะการังในธรรมชาติเพื่อให้คงอยู่ในธรรมชาติได้ในระยะยาว จึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องช่วยกันสอดส่องดููแลไม่ให้ถูกทำลายไป Blue Carbon Society ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้นักสำรวจชุดนี้ที่นำโดย อ.ธรณ์ ทำภารกิจต่างๆ อย่างก้าวหน้า จนพบความสำเร็จเช่นนี้อีกหลายๆ พื้นที่ในอนาคต
ขอขอบคุณ: ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ [Facebook: Thon Thamrongnawasawat ] และ โครงการชีวิตปากคลองไทย
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

Relate Articles

ดูทั้งหมด
Copyright © 2018 Blue Carbon Society | Together for our planet
ผลลัพธ์
การยืนยัน